วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ตำนานดอกลั่นทม

   มีเรื่องราวเล่าต่อ ๆ กันมาว่า แต่ก่อนนี้ ดอกลั่นทมมีเพียงสีขาวบริสุทธิ์
และเป็นที่รักยิ่งของเทพแห่งแสงจันทร์ ทุกคืนที่แสงจันทร์สาดส่อง
ดอกลั่นทมจะอวลกลิ่นหอมขจรไกล มีเทพแห่งแสงจันทร์เคียงใกล้อยู่ไม่ห่าง
แต่เมื่อถึงคืนแรมอันไร้จันทร์ ดอกลั่นทม และเทพแห่งแสงจันทร์ก็โศกเศร้า
ทุกคราวที่ต้องพรากจากกัน

จนในคืนหนึ่ง เทพแห่งแสงจันทร์จึงเอ่ยชวนให้ดอกลั่นทมไปอยู่ด้วยกันบนดวงจันทร์
แต่ ณ ที่นั้น ไม่มีหลากสีสันเช่นบนพื้นโลก
ทุกสิ่งล้วนอาบน้ำค้างแสงจันทร์จนเป็นสีเหลืองเรืองรอง


" ก่อนอื่นต้องใช้น้ำค้างแสงจันทร์ระบายให้ทั่วกลีบดอก พุ่มใบและลำต้นของเธอเสียก่อน "
เทพแห่งแสงจันทร์กล่าว แต่ทำอย่างไรจึงจะนำน้ำค้างแสงจันทร์ลงมายังพื้นดินได้
ทันใดนั้นเทพแสงจันทร์พลันเหลือบไปเห็นดอกไม้สีขาวอีกชนิดหนึ่งซึ่งแย้มบานอยู่ใกล้ต้นลั่นทม
" กรวยของดอกไม้นี้ลึกพอที่จะใช้ใส่น้ำค้างได้ "
เทพแห่งแสงจันทร์กล่าวอย่างยินดี


ดังนั้นเทพแห่งแสงจันทร์จึงนำดอกไม้สีขาวกลับไปยังดวงจันทร์เพื่อใช้บรรจุหยาดน้ำค้าง
เมื่อกลับมาที่ต้นลั่นทมอีกครั้ง
เทพแห่งแสงจันทร์ใช้พู่ดอกหญ้าจุ่มน้ำค้างแสงจันทร์จากกรวยดอกไม้
และเริ่มระบายลงที่กึ่งกลางดอกลั่นทมอย่างแผ่วเบา
ยังผลให้ส่วนกลางของดอกไม้กลายเป็นสีเหลืองสดใส
แต่ทว่าเมื่อเทพแห่งแสงจันทร์จุ่มพู่กันลงในกรวยดอกไม้เป็นครั้งที่สาม
เขาพบว่าในนั้นไม่มีน้ำค้างแสงจันทร์หลงเหลืออยู่เลย
และดอกไม้แต่เดิมที่เคยเป็นสีขาวบริสุทธิ์
ก็กลับกลายเป็นสีเหลืองสดใสไปทั้งดอก


" ดอกไม้ที่ร้ายกาจขโมยน้ำค้างแสงจันทร์ไปเสียหมด "
เทพแห่งแสงจันทร์ร้องอย่างโกรธแค้น
" ฉันไม่ได้ตั้งใจและไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไรด้วย "
ดอกไม้สีเหลืองปฏิเสธ แต่เทพแห่งดวงจันทร์ไม่รับฟัง
ผลุนผลันกลับไปยังดวงจันทร์อย่างรีบร้อน
มีเวลาเพียงแค่คืนนี้เท่านั้น ที่น้ำค้างจะเปลี่ยนสีของดอกลั่นทมได้
เมื่อใดที่แสงอาทิตย์สาดมาต้อง
ต่อให้ใช้น้ำค้างแสงจันทร์มากเท่าไรก็ไม่อาจเปลี่ยนสีของดอกไม้ได้อีก


เทพแห่งแสงจันทร์กลับมาหาดอกลั่นทมอีกครั้ง ด้วยความโศกเศร้า
ดวงดาวที่เหนื่อยล้าดื่มกินน้ำค้างแสงจันทร์หมดสิ้น
ไม่เหลือน้ำค้างแม้เพียงสักหยดเดียวสำหรับดอกลั่นทม ก่อนรุ่งอรุณ
ทั้งสองลาจากกันด้วยความเศร้าระทม แต่ต่างให้สัญญาว่าจะมั่นคงกันตลอดไป


ดอกไม้สีขาวรู้สึกละอายใจ ที่เป็นเหตุแห่งความเศร้านี้
จนไม่กล้าบานรับแสงจันทร์ได้เหมือนอย่างเคย มันแย้มกลีบบานเวลาเช้าตรู่
และนอนหลับตลอดคืนอันยาวนาน จนกลายเป็นดอกไม้บานของเวลาเช้าในที่สุด
แต่สำหรับดอกลั่นทม ยังคงเศร้าใจอยู่ไม่คลาย
สีเหลืองของน้ำค้างแสงจันทร์ที่ระบายไว้
คอยย้ำเตือนให้มันระลึกถึงเรื่องราวอันแสนเศร้านี้อยู่เสมอ ๆ
ลั่นทมจึงกลายเป็นดอกไม้แห่งความเศร้าระทมตั้งแต่นั้นมา


สำหรับดิฉันแล้ว เชื่อค่ะว่าความรักและความห่วงใยมันจะส่งผ่านถึงกันได้เสมอ ไม่ว่าระยะทางจะห่างไกลแสนไกลซักแค่ไหน ขอเพียงแต่ "ผู้ให้" ส่งออกไปด้วยความจริงใจ ส่วน "ผู้รับ" ก็เปิดใจ แล้วยิ้มรับไว้ด้วยความยินดี เพียงแค่นี้ก็จะไม่มีอะไรที่สูญหายไประหว่างระยะทางและกาล

ตำนานลาเวนเดอร์

             คำว่า "ลาเวนเดอร์"มีที่มาจากภาษาลาติน "lavare" หมายถึง "ชำระล้าง" ซึ่งคนสมัยก่อนก็นิยมใช้พืชหอมสารพัดประโยชน์ชนิดนี้กันอย่างแพร่หลาย ในช่วงที่มีโรคติดต่อระบาดในกลุ่มชาวเปอร์เซียน กรีก และโรมัน พวกเขาจะนำกิ่งของดอกลาเวนเดอร์มาเผา เพื่อป้องกันโรคติดต่อระบาด ในช่วงต้นศตวรรษที่ประเทศฝรั่งเศส หญิงรับจ้างซักผ้า (washerwomen) ก็ยังใช้ดอกลาเวนเดอร์แช่ไว้ในอ่างอาบน้ำ พวกเขาจะวางดอกลาเวนเดอร์ไว้ในตะกร้าผ้าและตามตู้เพื่อให้ผ้าลินินมีกลิ่นหอม และป้องกันแมลง

เรื่องของดอกลาเวนเดอร์มีที่มาแตกต่างกันไป แต่กระนั้นก็ยังถือเป็นพืชในตระกูล "Lamiaceae" โดยล็อกซิทานจะเลือกใช้เฉพาะดอกลาเวนเดอร์แท้ (Lavandula Angustifolia and Lavandula Stoechas) ไม่ว่าจะด้วยการปลูกหรือขึ้นเองตามธรรมชาติ เพราะลาเวนเดอร์ 2 สายพันธุ์นี้จะให้เอสเซนเชี่ยล ออยล์คุณภาพสูง ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วโลกและนิยมใช้ในการผลิตน้ำหอม การผลิตทางเคมี หรือศาสตร์บำบัด

ไฟน์ลาเวนเดอร์
(Lavandula Angustifolia)

 Angustifolia หมายถึง ใบไม้ใบเล็กๆ พืชชนิดนี้เติบโตในดินบนพื้นที่แคบๆ และมีลำต้นเรียวเล็ก สีฟ้าอ่อน และไม่ชอบความแออัด นับแต่ปี 1981 ผู้ผลิตลาเวนเดอร์จากที่ราบสูงแห่งแคว้นโพรวองซ์ได้รับมาตราฐานกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า A.O.C. (Apellation d'Origine Controlee) ซึ่งรับประกันถึงคุณภาพเอสเซนเชียลออยล์ที่ผลิตได้ เพื่อแข่งขันกับสายพันธุ์บัลกาเรียน ฉลากนี้บ่งชี้ถึงคุณภาพชั้นสูงในการผลิต โดยล็อกซิทานได้สกัดเอสเซนเชียลออยล์จากชาวไร่ในเมือง Sault และพื้นที่โดยรอบ และจะสั่งซื้อดอกลาเวนเดอร์ A.O.C. จากที่ราบสูงโพรวองซ์ถึงเกือบ 20 % ของจำนวนที่ผลิตได้ ซึ่งเราจะใช้แต่เอสเซนเชียลออยล์จากดอกลาเวนเดอร์ A.O.C. เท่านั้น

ด้วยความพิถีพิถันต่างๆ เอสเซนเชี่ยลออยล์จากลาเวนเดอร์ของ L'OCCITANE จึงได้รับการรับรองคุณภาพ A.O.C. จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศฝรั่งเศส

The A.O.C. (Apellation de Origin Controlee) คือ ตราสัญลักษณ์ที่รับรองคุณภาพสายพันธุ์ของพืชที่ทำการเพาะปลูก ตลอดจนถึงคุณภาพของผลผลิต โดยรัฐบาลฝรั่งเศสจะมอบสัญลักษณ์สำคัญนี้ให้ก็ต่อเมื่อได้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติในทุกๆ ด้านที่เป็นข้อกำหนดอย่างเข้มงวดทุกข้อเท่านั้น และมีอายุการรับรองเพียง 1 ปีเท่านั้น 

สถานที่ปลูกต้องอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 800 - 1,200 เมตร

น้ำมันต้องได้มาจากการต้มกลั่นดอกลาเวนเดอร์บริสุทธิ์ด้วยไอน้ำ (มิใช่จากสารละลาย)
กระบวนการผลิตต้องผ่านการตรวจสอบจากรัฐบาล ตัวอย่างต้องได้รับการทดสอบต่างๆ
ผลผลิตของเอสเซนเชี่ยลออยล์ต้องอยู่ที่ 25 ก.ก. / พื้นที่ปลูก 10,000 ตร.ม.
ต้องเป็นเอสเซนเชี่ยลออยล์บริสุทธิ์ที่ไม่มีสิ่งเจือปนใดๆ
ต้องได้รับใบรับรองคุณภาพจาก INAO (Institut National des Appellations d'Origine)

ดอกลาเวนเดอร์คุณภาพสูงจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคม เพราะเป็นช่วงที่ดอกลาเวนเดอร์ผลิตเอสเซนเชี่ยลออยล์ได้มากที่สุด โดยช่วงเวลาเก็บเกี่ยวดอกลาเวนเดอร์ในแต่ละที่แตกต่างกันออกไปตามระดับความสูง และความชื้นของสภาพอากาศ โดยระดับความสูงจะเป็นปัจจัยหลักในกระบวนการผลิตเอสเซนเชี่ยลออยล์ ยิ่งสูงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มปริมาณเอสเซนเชี่ยลออยล์ได้มากเท่านั้น

สรรพคุณของดอกลาเวนเดอร์ในเรื่องเวชสำอางค์

เอสเซนเชียลออยล์จากดอกลาเวนเดอร์จะนิยมใช้กันโดยทั่วไป ด้วยคุณสมบัติในการผ่อนคลายและระงับประสาท จึงช่วยระงับความตึงเครียดและทำให้หลับสบาย อุดมไปด้วยกลิ่นหอมผ่อนคลาย ทั้งยังเลื่องชื่อในสรรพคุณการฆ่าเชื้อ สามารถรักษาบาดแผลเล็กๆ แค่พียงสูดดม ก็สามารถช่วยลดอาการเจ็บคอและหลอดลมได้ นอกจากนี้ ดอกลาเวนเดอร์ยังสามารถใช้ผสมน้ำอาบ เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และยังช่วยฆ่าเชื้อ ต่อต้านการอักเสบ รักษาบาดแผล ผวิหนังที่ระเคยเคือง พุพองได้เป็นอย่างดี

คุณจึงวางใจได้ในผลิตภัณฑ์จากลาเวนเดอร์ของ L'OCCITANE ทุกชิ้น สัมผัสถึงความสุขและความทรงจำเมื่อยามหลับตาสูดกลิ่นกรุ่นของสายลมแห่งโพรวองซ์เมื่อยามพัดผ่านทิวทุ่งลาเวนเดอร์ ประหนึ่งได้ยืนอยู่ท่ามกลางทุ่งลาเวนเดอร์อย่างแท้จริง

สรรพคุณนานัปการของดอกลาเวนเดอร์
เพื่อประพรมบนผ้าลินิน - เราจะวางถุงลาเวนเดอร์เล็กๆ ไว้ในลิ้นชัก หรือตู้เสื้อผ้า
เพื่อช่วยให้หลับสบาย - หยดลาเวนเดอร์เอสเซนเชี่ยลออยล์ 2- 3 หยด ลงบนหมอนก่อนเข้านอน
เพื่อช่วยในระบบย่อยอาหาร - เพียงผสมดอกลาเวนเดอร์เข้าด้วยกัน
เพื่อผ่อนคลายความเครียด - ฉีด หรือ พ่นลาเวนเดอร์เอสเซนเชี่ยลออยล์ในห้องของคุณ
เพื่อลดอาการอักเสบจากบาดแผลไหม้, แมลงกัดต่อย, และไมเกรน - เพียงหยดลาเวนเดอร์ 2-3 หยดลงบนผิวหนัง
เพื่อใช้อาบน้ำและช่วยผ่อนคลาย - หยดลาเวนเดอร์เอสเซนเชี่ยลออยล์ 2-3 หยด ผสมเข้ากับนม เพราะลาเวนเดอร์ออยล์ไม่ละลายในน้ำ


ภาพความทรงจำของโอลิวิเย่ร์ โบส์ซอง
"ฉันเติบโตขึ้นในทุ่งดอกลาเวนเดอร์ที่กำลังผลิบาน โลกใบนี้ช่างสวยงาม เปรียบเหมือนกระจกที่สะท้อนเห็นภาพท้องฟ้าสีครามไปทั่วทั้งทิวทุ่งดอกลาเวนเดอร์ มันเป็นช่วงเวลาอันสวยงามของฤดูร้อน เพราะทิวเขา Contadour ถูกปกคลุมไปด้วยดอกลาเวนเดอร์สีฟ้า ยามฉันหลับตาลง ฉันจะได้กลิ่นหอมฟุ้งของดอกไม้ที่ฝูงผึ้งยังมิอาจต้านทาน ณ ที่ราบสูงแห่งแคว้นโพรวองซ์แห่งนี้ ที่ซึ่งผู้คนยอมนั่งคุกเข่า เพื่อเก็บเกี่ยวดอกไม้ของเขา ราวกับว่าเขากำลังทำความเคารพเทพเจ้ายังไงยังงั้น






ประวัติกล้วยไม้

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา

การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด

 ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.


ตำนานดอกเบญจมาศ

ในญี่ปุ่นมีเรื่องเล่าของ ดอกเบญจมาศ ว่ามีผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ คิกุโนะ กับสามีของเธอรักกันมาก แต่สามีเป็นคนขี้โรคป่วยกระเสาะกระแสะตลอดเวลา วันหนึ่งคุณหมอก็แจ้งข่าวร้ายว่าสามีของเธอคงจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงเดือนเดียว คิกุโนะได้ฟังก็เสียใจ รีบวิ่งไปอธิษฐานกับพระในศาลเจ้าขอให้สามีของเธอมีชีวิตยืนยาวกว่านั้น จากนั้นเธอก็เผลอหลับและฝันไป 

ในความฝันมีคนแก่คนหนึ่งมาบอกคิกุโนะว่าถ้าหาดอกไม้มาบูชาเทพเจ้าได้มากกลีบเท่าไหร่ ท่านก็จะให้สามีของเธออยู่ไปนานปีเท่ากับจำนวนกลีบของดอกไม้นั้น เมื่อตื่นขึ้นมาคิกุโนะจึงออกตามหาดอกไม้ที่มีกลีบมากๆ แต่ไม่มีดอกไหนเลยที่มีจำนวนกลีบมากเท่าที่เธอต้องการ ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจเอาดอกไม้ที่มีกลีบมากที่สุดมากรีดให้แต่ละกลีบเป็นฝอยยาวจนกลายเป็นดอกไม้ที่มีกลีบนับไม่ถ้วน แล้วเอาไปถวายเทพเจ้า เทพเจ้าเห็นความตั้งใจจริงของคิกุโนะจึงบันดาลให้สามีของเธอหายจากโรคร้าย อยู่กับเธอไปจนแก่เฒ่า ดอกไม้ที่คิกุโนะทำขึ้นจึงถูกตั้งชื่อว่า ดอกคิกุโนะ หรือ ดอกเบญจมาศ ในภาษาไทย หมายถึง ความจริงใจและแสงสว่างแห่ง
ความหวัง


วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


ตำนานดอกลิลลี่
ดอกลิลลี่ขาวบริสุทธิ์มีตำนานอยู่ในเทพกรณัมของกรีกว่า มันเกี่ยวข้องกับการกำเนิดของเฮอร์คิวลิส เทพผู้ทรงพลัง หลังจากเฮอร์คิวลิสเกิดขึ้นมาแล้ว มหาเทพซูสผู้เป็นบิดาอยากให้ลูกของตนเป็นชายที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก จึงแอบอุ้มทารกเฮอร์คิวลิสไปวางบนอกของเทวีเฮร่าระหว่างที่นางหลับ เพื่อให้ดื่มนมจากอกนาง แต่เมื่อดื่มไปทารกเฮอร์คิวลิสก็เริ่มแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ ความแรงของพลังดูดจึงมหาศาลจนเทวีเฮร่าตกใจตื่นพอพระนางเห็นมีเด็กหน้าตาบ้องแบ๊ว
มานอนบอกก็ตกใจ รีบปัดเฮอร์คิวลิสกระเด็นแล้วเหาะหายไปบนท้องฟ้า จนน้ำนมสีขาวสะอาดหยดเป็นทางไม่นานน้ำนมเหล่านั้นก็กลายเป็นดอกไม้ขาวบริสุทธิ์ที่ชื่อว่าดอกลิลลี่นั่นเองดอกลิลลี่จึงมีความหมายถึงความบริสุทธิ์ดุจดั่งน้ำนมของมารดาและความไร้เดียงสาของชีวิต (สงสัยจะหมายถึงเจ้าเด็กเฮอร์คิวลิสที่ไร้เดียงสาจนเฮร่าไหวตัวทัน)ในประเทศจีน เชื่อกันว่า ถ้าใครฝันเห็นลิลลี่ในฤดูใบไม้ผลิจะมีชีวิตที่เจริญรุ่งเรือง แต่ถ้าผันเห็นในฤดูหนาว ชีวิตจะแห้งแล้งยากจนและไร้คู่ครอง



ตำนานดอกบัว
อเมริกาเหนือเป็นต้นกำเนิดของดอกบัวสีเหลืองค่ะ ตามตำนานของอินเดียนแดงเผ่าดาโกต้า ดอกบัวเป็นวิญญาณของนางฟ้าซึ่งยอมทิ้งสวรรค์ลงมาเป็นภรรยาของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงทั้งคู่ครองรักกันอย่างมีความสุขจนกระทั่งมีลูกชายด้วยกันคนหนึ่งจนเมื่อลูกชายโตขึ้น หัวหน้าเผ่าจึงส่งลูกชายพร้อมภรรยานั่งเรือคานูข้ามทะเลสาบไปขอคำปรึกษาจากผู้รู้ว่าลูกชายคนนี้สมควรจะได้เป็นหัวหน้าเผ่าต่อจากพ่อหรือเปล่า แต่ระหว่างทางเรือได้ชนเข้ากับโขดหินนางฟ้าจึงตกลงไปในน้ำแล้วหายสาบสูญไป แต่รุ่งเช้าบริเวณโขดหินนั้นก็มีดอกไม้สีเหลืองงามสดใสเกิดขึ้นมาแทน ซึ่งก็คือ ดอกบัวนั่นเอง ตามตำนานนี้ดอกบัวจึงมีความหมายถึงการเกิดใหม่
ดอกบัวกับอียิปต์
ชาวอียิปต์จะวางดอกบัวไว้บนหน้าอกของมัมมี่ เพื่อให้คนตายกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาในอีกหลายร้อยปีข้างหน้า และในช่วงไว้ทุกข์ญาติของคนตายก็จะถือดอกบัวเอาไว้ด้วย เพื่อเป็นเคล็ดให้คนตายกลับมาเกิดใหม่เร็วๆ
ดอกบัวกับชาวจีน
ชาวจีนมักจะปลูกดอกบัวไว้ในอ่างเลี้ยงปลาทองเพื่อให้ปลาใช้เป็นที่หลบภัย ภาพปลาว่ายในกอดอกบัวที่ชาวจีนนิยมวาดกัน จึงมีความหมายถึงความเป็นมลคล ปลอดภัย ร่ำรวย แต่ถ้าวาดเป็นภาพเด็กชายตัวอ้วนถือดอกบัวจะหมายถึงการอวยพรให้มีลูกชายไว้สืบสกุล แต่อีกความหมายของดอกบัวมาจากคำสอนในศาสนาพุทธ ที่ว่าคนเราควรทำตัวเหมือนดอกบัว ถึงแม้จะกำเนิดจากโคลนตมแต่ก็คงคุณงามความดี จนได้เป็นดอกไม้บูชาพระพุทธองค์ ชาวจีนจึงยึดให้ดอกบัวเป็นดอกไม้แห่งความดีอีกอย่างหนึ่งด้วย
ดอกบัวกับอินเดีย
ตำนานของชาวอินเดียเล่ากันว่าวันหนึ่งหน้าผากของพระวิษณุ ก็มีดอกบัวผุดขึ้นมา และเมื่อบัวนั้นบานก็มีพระลักษมีเทวีประทับอยุ่ข้างใน พระลักษมีจึงมีชื่อที่แปลว่าดอกบัวหลายชื่อ เช่น ปัทมา,กมลาษณา และชาวอินเดียก็ถือว่าดอกบัวเป็นเครื่องหมายของการกำเนิดชีวิต